Subscribe:

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถ
ในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการ
เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความ
เพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี 

 เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลัก
การและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนว
ทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม
เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม 
 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือแบบพื้นฐาน
กับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้ 

 ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานเทียบ
ได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการ
ที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหา
ในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่ง
ได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่า
ใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว 

 อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชน
ราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียง
แบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์
หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ 

 กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะ
รวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วย
เหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ 
เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง 

 ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่ง
เสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ธนาคาร สถาบัน
วิจัย เป็นต้น 

 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยน
ความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอัน
เป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอ
เพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด 



แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จขึ้น ครองสิริราชสมบัติ เมื่อ พุทธศักราช 2489 เป็นต้นมา
พระองค์ได้เสด็จแปรพระราชฐาน และเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมพสกนิกร โดยเฉพาะประชาชนในชนบทและท้องถิ่น
ทุรกันดารทั่วราชอาณาจักรอย่างสม่ำเสมอ พระองค์ได้ทรงประสบกับความทุกข์ยากของพสกนิกรด้วยพระองค์เอง โดย
เฉพาะพสกนิกรที่เป็นเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ คนเหล่านี้ล้วนแต่ประสบกับปัญหาในการประกอบอาชีพ
เนื่องจากอาชีพการเกษตรนั้นต้องพึ่งพาอาศัยปัจจัยต่างๆ มากมาย  ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อันได้แก่
ดิน น้ำ ลมฟ้าอากาศ รวมทั้งศัตรูพืชและสัตว์ชนิดต่าง ๆ   สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากเมื่อก่อน
ดินเคยอุดมสมบูรณ์ปลูกพืชอะไรก็เจริญเติบโต  สามารถเก็บเกี่ยวผลิตผลได้  แต่ปัจจุบันดินมีสภาพเสื่อมโทรมขาดแร่
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช  โรคและแมลงศัตรูต่าง ๆ ก็ระบาดรุนแรงมากขึ้น  ปลูกพืชอะไรถ้าหากไม่
ใส่ปุ๋ย ไม่ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ก็จะไม่ได้เก็บเกี่ยวผลิตผล ไม่เพียงแต่โรคและแมลงศัตรู
พืชเท่านั้น ยังมีภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกมากมายที่ก่อให้เกิดปัญหาในการประกอบอาชีพของเกษตรกร  เช่นฝนแล้ง น้ำ
ท่วม พายุ ลูกเห็บ เป็นต้น นอกจากนี้ การประกอบอาชีพทางการเกษตรนั้น ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมอื่นๆเช่น สภาวะ
เศรษฐกิจและการตลาดเป็นสำคัญ  ถ้าหากปีใดเศรษฐกิจดี  ตลาดมีความต้องการสูง ราคาผลิตผลทางการเกษตรก็จะดี
ไปด้วย เกษตรกรที่ประกอบอาชีพนี้ ก็จะขายผลิตผลได้ ในราคาสูง สามารถมีรายได้ เพียงพอ ต่อการครองชีพ ภายใน
ครอบครัว แต่ถ้าหากปีใดเศรษฐกิจตกต่ำ รายได้ไม่คุ้มกับต้นทุนที่ลงไป ประสบกับภาวะขาดทุน บางรายถึงกับล้มละลาย
ไปก็มีไม่น้อย

 ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  พระองค์ทรงทราบและตระหนักถึงความทุกข์ยาก
ของพสกนิกรของพระองค์ จึงทรงพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพของเกษตรกรโดยเน้นที่เกษตรกรยาก
จนในเขตน้ำฝน ซึ่งมีอยู่กว่าร้อยละ 70 ของเกษตรกรทั้งประเทศ  เกษตรกรเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมีพื้น
ที่ทำการเกษตรประมาณ 5-15 ไร่ แนวทางในการแก้ปัญหาก็คือ การจัดการแหล่งน้ำให้พอเพียงต่อการปลูกพืชในช่วงที่
ไม่มีฝน  เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการปลูกพืช  หากมีน้ำเพียงพอ เกษตรกรก็สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี มีงาน
ทำและมีรายได้ตลอดทั้งปี  ไม่ต้องอพยพเคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่น  ดังกระแสพระราชดำรัสความว่า "หลักสำคัญต้องมี
น้ำบริโภค  น้ำใช้  น้ำเพื่อการเพาะปลูก  เพราะว่ามีชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้  ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้" นอกจากการ
จัดการในเรื่องแหล่งน้ำแล้ว  การแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพตามแนวพระราชดำรินี้ ิ ยังเน้นการจัดการระบบการปลูก
พืชที่เหมาะสม เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว ไว้บริโภคในครอบครัว และพื้นที่ปลูกพืชอื่น ๆ ไว้บริโภค ใช้สอย และจำหน่าย
แนวทางการประกอบอาชีพการเกษตรแบบนี้จะทำให้เกษตรกรมีงานทำ มีอาหารไว้บริโภค มีรายได้เพียงพอต่อการครอง
ชีพ  สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพ  อันจะเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งจะก่อให้เกิด
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ  นับว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน  เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติในอนาคต
แนวคิดในการแก้ปัญหาการประกอบอาชีพการเกษตร ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้ จึงเรียก
ว่า  "ทฤษฎีใหม่"


ประโยชน์และความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่
       
 "เกษตรทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหนึ่งซึ่ง เป็นความหวังที่จะทำให้เกษตรกรไทย มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
ขึ้น และจะทำให้ระบบเศรษฐกิจ ของประเทศชาติโดยรวม มีความเข้มแข็งและมั่นคงตลอดไป  เนื่องจากการ เกษตรทฤษฎี
ใหม่ เป็นการพัฒนาการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อเกษตรกรมีอาหารไว้บริโภค มีงาน
ทำ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และครอบครัวอยู่อย่างอบอุ่นและมีความสุขถ้าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีสภาพ
เช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้ ประเทศชาติ มั่นคงทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เกษตรทฤษฎีใหม่ จึงมี
ความสำคัญและจำเป็นต่อประเทศชาติยิ่ง  ความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่  สรุปได้ดังนี้

 เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดและแก้ปัญหาภัยแล้งได้
                                                                        
 เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศไทย คือ กว่าร้อยละ 70 อยู่นอกเขตชล
ประทาน ซึ่งเป็นเขตการเกษตรที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว หรือถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประเทศไทยมีระบบชลประทาน
ทั้งประเทศประมาณ  ร้อยละ 21 ของพื้นที่การเกษตรเท่านั้น     หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ก็คือ  การขุดสระน้ำเพื่อกัก
เก็บน้ำในช่วงที่มีฝนตกสำหรับเก็บไว้ใช้ในการเกษตรยามขาดแคลน  ซึ่งจะทำให้เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรในเขตน้ำ
ฝนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำไว้ใช้ในยามที่ขาดแคลน นับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ สามารถแก้ปัญหา
หรือลดปัญหาความแห้งแล้งที่เกษตรกรประสบอยู่โดยทั่วไปในปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง


เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้การใช้พื้นที่การเกษตรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 
 จากหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ที่มีการจัดสรรพื้นที่ปลูกพืชอย่างเหมาะสม  เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว และปลูก
พืชชนิดอื่นๆ  ได้แก่ พืชไร่  ไม้ผล  พืชผัก  สมุนไพร  และไม้ใช้สอย รวมทั้งมีการจัดแบ่งพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย และใน
บริเวณที่อยู่อาศัยนี้เอง  สามารถใช้เป็นที่ปลูกผักสวนครัว เพาะเห็ด และเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค การจัดสรรพื้นที่แบบนี้จะทำให้
พื้นที่ทุกส่วนได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่  สามารถใช้พื้นที่ได้ตลอดทั้งปี  ผิดกับเมื่อก่อนที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะปลูก
พืชชนิดเดียว  พื้นที่ก็ไม่ได้นำมาใช้เต็มที่  มีการใช้เฉพาะที่หรือบางฤดูกาลเท่านั้น


   เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีอาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอ 

  การแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ  อันได้แก่  ส่วนแรกประมาณร้อยละ 30 สำหรับขุดสระน้ำ  สามารถใช้เลี้ยงปลาไว้
บริโภค ในครัวเรือนได้     ส่วนที่ 2 ประมาณร้อยละ 30 ใช้สำหรับปลูกข้าว จะทำให้ เกษตรกรมีข้าว  ซึ่งเป็นอาหารหลักไว้
บริโภค ภายใน ครัวเรือน อย่างเพียงพอ ตลอดทั้งปี   ส่วนที่ 3 ประมาณร้อยละ 30 ใช้สำหรับปลูกพืชชนิดอื่นๆ  เช่น พืชไร่
ไม้ผล  พืชผัก  ผลิตผลจากพืชเหล่านี้ก็สามารถนำมาบริโภคได้เช่นกัน  นอกจากนี้ บริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัยก็สามารถใช้เป็น
ที่เลี้ยงสัตว์ เพาะเห็ด สำหรับใช้เป็นอาหารบริโภคภายในครัวเรือน จึงถือได้ว่าเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ สามารถทำให้เกษตรกรมี
อาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี



เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 

 เนื่องจากเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นระบบการเกษตรที่จัดให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเกษตร มีการจัดสรร พื้นที่ สำหรับ
ปลูกพืชหลายชนิดอย่างเหมาะสม และหมุนเวียนปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างคุ้มค่าและมีรายได้
หมุนเวียนตลอดทั้งปีโดยรวมแล้วจึงทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นต่างจากเมื่อก่อนที่เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกพืชชนิด
เดียวหรือมีเพียงครั้งเดียวในหนึ่งปี  จึงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ

    เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีงานทำตลอดทั้งปี 

 โดยปกติแล้วเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานนั้น จะประกอบอาชีพหรือปลูกพืชเพียงปีละครั้ง มีช่วงระยะเวลา
การทำงานในแต่ละปีประมาณ 3-4 เดือนเท่านั้น  เวลาที่เหลือก็เป็นการว่างงานตามฤดูกาล บางรายก็ต้องเดินทางไปทำงานที่
อื่น แต่เมื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่แล้ว ทำให้มีงานทำตลอดทั้งปี ไม่ต้องไปหางานทำที่อื่น นับว่าเกษตร
ทฤษฎีใหม่ช่วยแก้ปัญหาการว่างงานในท้องถิ่นที่เป็นการว่างงานตามฤดูกาลได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นการแก้ปัญหาการ
เคลื่อนย้ายแรงงานของประชากรในระดับชุมชนและระดับประเทศได้ เพราะถ้าหากเกษตรการมีงานทำมีรายได้ในท้องถิ่นของ
ตนเองแล้ว  ก็ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่น


เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ปัญหาสังคมลดลง 

 จากที่กล่าวมา นับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่สามารถทำให้เกษตรมีอาหารไว้บริโภค มีงานทำ มีรายได้เพียงพอต่อการ
ดำรงชีพ เกษตรกรก็ไม่ต้องไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมหรือบริการตามเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ เพราะการ
ที่เกษตรกรต้องอพยพไปอาศัยอยู่ตามเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่นั้นก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัด นอก
จากนี้ ยังเกิดปัญหาในด้านครอบครัวของเกษตรกรเอง เพราะเมื่อเกษตรกรออกไปทำงานที่อื่น ทำให้ครอบครัวขาดความอบ
อุ่น สภาพเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมามากมาย เช่น บุตรหลานไม่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากบิดามารดา ขาดการ
ศึกษา ติดยาเสพติด ซึ่งล้วนแต่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ แต่เมื่อเกษตรกรทำการเกษตรทฤษ
ฎีใหม่ จะทำให้เกษตรกรมีงานทำอยู่กับบ้าน มีเวลาอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะลดน้อยลง

  เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศได้ 

 ลักษณะของเกษตรทฤษฎีใหม่นั้นจะเน้นการใช้แรงงานภายในครอบครัว ถ้าเกษตรกรมีสมาชิกภายในครอบครัว
5-6 คน ก็จะสามารถมีแรงงานเพียงพอสำหรับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ได้ การดำเนินงานก็ไม่จำเป็น
ต้องพึ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์จากภายนอกหรือจากต่างประเทศมากนัก อีกประการหนึ่งแนวทางของเกษตรทฤษฎีใหม่มักจะ
เน้นการใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ในการปลูกพืช และการใช้สารสกัดจากธรรมชาติ
หรือสมุนไพร  ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช


เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมั่นคงยิ่งขึ้น 

 ดังคำที่กล่าวกันมาตั้งแต่อดีตว่า  "ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ" เกษตรทฤษฎีใหม่จะทำให้เกษตรกรซึ่งเป็น
กระดูกสันหลังของชาติมีความมั่นคง เนื่องจากมีงานทำ  มีอาหารบริโภค  มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ  จึงทำให้เกษตรกรมี
กำลังในการจับจ่ายใช้สอยตามอัตภาพ  ดังนั้นเมื่อเกษตรกร ซึ่งเป็นฐานของประเทศมีความมั่นคง ก็จะทำให้ประเทศชาติมั่นคง
ระบบเศรษฐกิจ ของประเทศส่วนรวมก็จะมั่นคงตามมาด้วย  และถ้าหากเกษตรกรไทยปฏิบัติ หรือทำเกษตรทฤษฎีใหม่และยึด
หลักการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นเวลานานแล้วประเทศชาติก็คงไม่ต้อง
ประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจเช่นในปัจจุบัน

 เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
 เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นทฤษฎีที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่าง
เป็นรูปธรรม  เมื่อนำทฤษฎีนี้ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง รวมทั้งยึดหลักการพัฒนาประเทศตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัด
ก็จะเป็นที่มั่นใจได้ว่าประชากรจะมีแต่ความสมบูรณ์พูนสุข ไม่มีปัญหาการว่างงานและขาดแคลนอาหารบริโภค ปัญหาต่าง ๆ ของ
สังคม ก็จะลดน้อยลง ประเทศชาติก็จะมั่นคงแข็งแรง ลดการพึ่งพาจากภายนอกหรือต่างประเทศ ดังนั้น  การพัฒนาการประกอบ
อาชีพการเกษตรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้  จะเป็นการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืนตลอดไป
 
ที่่มา student.nu.ac.th
ที่มา student.nu.ac.th/sammy/Econ.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น