Subscribe:

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

แนวเกษตรพอเพียง

แนวเกษตรพอเพียงหรือตามทฤษฎีใหม่มีดังนี้




เกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory Agriculture)
การทำการเกษตรในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชุมชนนั้น การเกษตรทฤษฎีใหม่ (new theory) เป็นการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวงที่มีพระประสงค์ให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคง ในความหมายของความมั่นคง หมายถึง ความยั่งยืน (sustainable) ของเกษตรกรในอาชีพเกษตร คือการที่มีพออยู่ พอกิน ที่เหลือก็เหลือเก็บก็ขาย จำหน่าย ซึ่งมีหลักการจัดการทฤษฎีอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้

ทฤษฎีใหม่ : ขั้นที่หนึ่ง

ฐานการผลิตความพอเพียง เน้นถึงการผลิตที่พึ่งพาตนเอง สร้างความเข็มแข็งของตนเอง ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในพื้นที่ของตนเอง กล่าวคือ "พออยู่พอกิน" ไม่อดอยาก ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นเรื่องของการจัดการพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน สัดส่วนการใช้พื้นที่ทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้ตัวเลขง่ายต่อการจดจำในพื้นที่ 15 ไร่ ดังนี้ 30:30:30:10 (พื้นที่ทำนา สระน้ำ พื้นที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน และที่อยู่อาศัย)
1) สระน้ำ 3 ไร่ ลึก 4 เมตร (ประมาณ 30% ของพื้นที่)
2) นาข้าว 5 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่)
3) พื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 5 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่)
4) ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ 2 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่)

พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง คือ ข้าว คือ พื้นที่ทำนาในการปลูกข้าวเพื่อการบริโภค ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจระดับประเทศและระดับครอบครัว ในระดับประเทศถือได้ว่าสามารถนำเงินตราสู่ประเทศอย่างมากมายในแต่ละปี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ข้าวเป็นวัฒนธรรม และวิธีชีวิตของคนไทยในแง่ของงานบุญงานประเพณีต่าง ๆ และข้าวเป็นพืชที่ปลูกไว้สำหรับคนไทยทั้งประเทศเพื่อการบริโภค ในระดับครอบครัว ปลูกไว้บริโภคและหากผลผลิตเหลือจึงจำหน่ายเป็นรายได้ ข้าวยังแสดงถึงฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรและทรัพย์สินในแต่ละครอบครัว ข้าวเป็นสินค้าที่เกษตรกรสามารถเก็บไว้ได้นาน ขึ้นอยู่กับความต้องการว่าต้องการบริโภคเมื่อไร ต้องการเปลี่ยนจากผลผลิต (ข้าวเปลือก) เป็นเงินตราไว้สำหรับใช้จ่ายในครัวเรือนเมื่อไรก็ได้ ซึ่งจะต่างจากสิค้าเกษตรอื่นๆ โดยทั่วไป คนไทยบริโภคข้าวเฉลี่ยคนละ 200 กิโลกรัม ข้าวเปลือกต่อ ปี เกษตรกรมีครอบครัวละ 3-4 คน ดังนั้นควรปลูกข้าว 5 ไร่ ผลผลิตประมาณ 30 ถัง ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี

พื้นที่ส่วนที่สอง คือ สระน้ำ สระน้ำในไร่นา มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการเกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้นหากเกษตรกรมีสระน้ำก็เปรียบเสมือนมีตุ่มเก็บกักน้ำในฤดูฝน ช่วยป้องกันน้ำไหลหลากท่วมไร่นาของเกษตรกร ตลอดจนช่วยมิให้น้ำไหลหลากลงสู่แม่น้ำลำคลอง สามารถนำน้ำจากสระน้ำมาใช้ในฤดูฝนกรณีเกิดขาดแคลนน้ำหรือฝนทิ้งช่วง สำหรับฤดูแล้ง หากมีน้ำในสระเหลือสามารถนำมาใช้ในการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การที่เกษตรกรมีสระน้ำในไร่นา ยังแสดงถึงการมีหลักประกันความเสี่ยงในการผลิตทางการเกษตร ถ้าเกิดการขาดแคลนน้ำขึ้นในการเพาะปลูก นอกจากนี้ สระน้ำยังเป็นทรัพยากรในการสนับสนุนการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในไร่นา ให้ความชุ่มชื้น และสร้างระบบนิเวศเกษตรที่เหมาะสมในบริเวณพื้นที่ขอบสระน้ำ การคำนวณว่าต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการเพราะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ และบนสระน้ำอาจสร้างเล้าไก่ เล้าหมูไว้ด้วย เพราะฉะนั้นพื้นที่ 10 ไร่ ต้องใช้น้ำอย่างน้อย 10,000 ลูกบาศก์เมตร

พื้นที่ส่วนที่สาม คือ ปลูกพืชแบบผสมผสาน ไว้เพราะปลูกพืชแบผสมผสานทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นแหล่งอาหาร ไม้ใช้สอยและเพิ่มรายได้ การปลูกพืชหลาย ๆ ชนิดจะช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจน ช่วยกระจายความเสี่ยงจากความแปรปรวน ของระบบตลาดและภัยทางธรรมชาติ การปลูกพืชผสมผสานยังสามารถช่วยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอกไร่นา และตัดวงจรศัตรูพืชบางชนิดได้อีกด้วย

ตัวอย่างของพืชที่ควรปลูก ได้แก่
พืชสวน (ไม้ผล) : เช่น มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้มมะม่วง กล้วย น้อยหน่า มะละกอ และกระท้อน เป็นต้น
พืชสวน (ผักไม้ยืนต้น) : เช่น แคบ้าน มะรุม สะเดา เหลียง เนียง ชะอม ผักหวาน ขจร ขี้เหล็ก และกระถิน เป็นต้น
พืชสวน (พืชผัก) : เช่น พริก กระเพรา โหระพา ตะไคร้ ขิง ข่า แมงลักสะระแหน่ มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว ถั่วพู และ มะเขือ เป็นต้น
พืชสวน (ไม้ดอก) : เช่น มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รักและซ่อนกลิ่น เป็นต้น
เห็ด : เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น
สมุนไพร และเครื่องเทศ : เช่น หมาก พลู พริกไทย บุก บัวบกมะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก กระเพรา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น
ไม้ยืนต้น (ใช้สอยและเชื้อเพลิง) : เช่น ไผ่ มะพร้าว ตาล มะขามเทศ สะแกทองหลาง จามจุรี กระถิน ยูคาลิปตัส สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัง และยางนา เป็นต้น
พืชไร่ : เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง เป็นต้น พืชไร่บางชนิดอาจ เก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ จำหน่ายได้
พืชบำรุงดิน และพืชคลุมดิน : เช่น ทองหลาง ขี้เหล็ก กระถิน ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม โสน ถั่วฮามาต้า เป็นพืชที่ควรปลูกแซม ไม้ผลไม้ยืนต้นขณะที่ยังเล็กอยู่ ปลูกหมุนเวียนกับข้าว หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนา พืชเหล่านี้บางชนิดใช้กินใบและดอกได้ด้วย

พื้นที่ส่วนที่สี่ คือ ที่อยู่อาศัย เป็นที่อยู่อาศัยหรือบ้านไว้ดูแลเรือกสวนไร่นา และบริเวณบ้าน ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น มีไม้ผลหลังบ้านไว้บริโภคปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร นำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำปุ๋ยหมัก เพาะเห็ดฟาง การเลี้ยงสัตว์เพื่อสร้างคุณค่าอาหารและโภชนาการ ตลอดจนเสริมรายได้ นอกจากนี้มูลสัตว์ยังเป็นปุ๋ยคอก สำหรับพืชในลักษณะเกษตรผสมผสาน มีการหมุนเวียนทรัพยากรในไร่นาให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้ การจัดการพื้นที่ส่วนที่สี่ให้มีที่อยู่อาศัยนั้นยังหมายถึง การสร้างจิตสำนึก และนิสัยให้มีความผูกพันธ์กับอาชีพการเกษตรของตนเอง เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่มีจิตฟุ้งเฟ้อหลงไหลในวัตถุนิยม ดังเช่นสังคมเมือง สามารถใช้ประโยชน์จากบริเวณบ้านและที่อยู่อาศัย มีเวลามากพอในการทำการเกษตร ดูแลเรือกสวนไร่นาของตนเอง มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตพื้นฐานอย่างเพียงพอ ได้อาหารจากพืช สัตว์ และประมง มียารักษาโรคจากพืชธรรมชาติและพืชสมุนไพร มีผลไม้ไว้บริโภค และมีไม้ใช้สอยในครอบครัว

ทฤษฎีใหม่ : ขั้นที่สอง

รวมพลังเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยสร้างความพอเพียงในขั้นที่หนึ่ง ทำให้เกิดความเข้มแข็งในแต่ละคนแต่ละครอบครัว จนเกิดกลุ่มกิจกรรมที่เข้มแข็งและเกิดพลัง ในขั้นที่สอง การรวมกลุ่ม จึงร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มิใช่มาขอความช่วยเหลือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว การรวมกลุ่มให้เกิดพลังในการดำรงชีพ และดำเนินกิจกรรมการเกษตร โดยการร่วมแรงร่วมมือในการผลิต จัดระบบการผลิต การตลาด ร่วมคิดร่วมวางแผน และระดมทรัพยากรในการผลิตร่วมกัน สร้างสวัสดิการความเป็นอยู่ ด้านการศึกษาและอนามัย ร่วมกันในชุมชนและกลุ่มเป็นอันดับแรก ทำให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน กลุ่มมีความเข้มแข็งช่วยเหลือตนเองได้ เกิดความสามัคคีปรองดองกัน สามารถร่วมดำเนินธุรกิจด้วยกันโดยการร่วมกันซื้อขาย ซึ่งจะช่วยในการลดค่าขนส่ง ทำให้เกิดการเรียนรู้แหล่งผลิต ซื้อขายปัจจัยการผลิตและผลผลิต นอกจากนี้แล้ว การรวมกลุ่มและแปรรูปแบบสหกรณ์ ทำให้มีผลผลิตในปริมาณที่มากพอสามารถเพิ่มอำนาจในการรวมกลุ่ม และรูปแบบสหกรณ์ทำให้มีผลผลิตในปริมาณที่มากพอ สามารถเพิ่มอำนาจในการต่อรองราคาในการจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร

ทฤษฎีใหม่ : ขั้นที่สาม

ร่วมค้าขายสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน

ในขั้นตอนที่สอง เมื่อองค์กรหรือกลุ่มหรือสหกรณ์ เกิดความเข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือกันเองได้แล้ว จึงร่วมกับคนภายนอกค้าขาย ร่วมประสานประโยชน์ร่วมกัน โดยร่วมมือกับแหล่งเงินทุน (ธนาคาร) และกับแหล่งพลังงาน ในขั้นตอนที่สาม โดยยึดหลักฐานการผลิตเดิม ระบบและรูปแบบการรวมกลุ่มการรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และประสานผลประโยชน์ร่วมกัน การจัดตั้งและบริหารโรงสี ร้านค้าสหกรณ์ ในลักษณะบริษัทร่วมทุน ช่วยกันลงทุนในรูปแบบทรัพยากรการผลิต ทรัพยากรมนุษย์ (ตัวบุคคลช่วยกันทำงาน) เงินทุน และ อุปกรณ์การผลิตการก่อสร้าง เป็นต้น ในการร่วมมือร่วมใจกับบุคคลภายนอก ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้เกิดหน่วยเศรษฐกิจชุมชน และเศรษฐกิจท้องถิ่น จะตั้งอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกัน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามความถนัด เช่น หน่วยการผลิต หน่วยขนส่ง หน่วยการจัดการ หน่วยติดต่อหาตลาด หน่วยการจำหน่าย หน่วยการลงทุน เป็นต้น แต่ทุกหน่วยจะต้องทำงานเหมือนบริษัทเดียวกัน ทำงานเป็นทีมประสานงานร่วมกัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการบริหารการจัดการ การดำเนินธุรกิจ เกิดขบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้ทราบความต้องการทั้งชนิด ปริมาณ คุณภาพ และราคาสินค้า นิสัยการบริโภคและอุปโภคของลูกค้า สิ่งสำคัญจะต้องมีกลไก กฎระเบียบข้อบังคับร่วมกัน การจัดสรรปันส่วนผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นต้องยุติธรรมและมีคุณธรรม

จากแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งพระราชทานไว้แก่พสกนิกรชาวไทย เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่ทำการเกษตรออกเป็น 4 ส่วน คือ สระน้ำ พื้นที่ทำนา พื้นที่ทำไร่ ทำสวนและ พื้นที่ที่อยู่อาศัย ในอัตราส่วน 30:30:30:10 และสามารถนำไปประยุกต์ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เศรษฐกิจ และสังคมเกษตรกร โดยพิจารณาถึงความหลากหลายของกิจกรรมการเกษตร มีระบบ และสัดส่วนที่เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ ดังน
ี้
1. กิจกรรมด้านแหล่งน้ำ น้ำมีความสำคัญ ในระบบการผลิตของเกษตรกร เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ ่ยังคงอาศัยน้ำฝน และบางพื้นที่ถึงแม้ว่าเป็นที่ราบและที่ลุ่ม สามารถเก็บกักน้ำได้เพียงไม่กี่เดือน ในฤดูแล้งน้ำจึงมี ความสำคัญยิ่งยวดต่อระบบการผลิตการเกษตร ในทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ดังนั้น สระน้ำเพื่อการเกษตรตามทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงเป็นแนวพระราชดำริที่เหมาะสม ที่สุดในสังคมเกษตรกรไทย อย่างไรก็ตาม สระน้ำในที่นี้ ยังหมายถึงแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคในครอบครัวเกษตรกร นอกจากนี้แหล่งน้ำยังสามารถเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เพื่อการบริโภคและจำหน่าย ตลอดจนนำน้ำจากแหล่งดังกล่าว มาใช้ในการเพาะปลูกพืชผลในเรือกสวนไร่นาและกิจกรรมการผลิตอื่น ๆ เช่นการเพาะเห็ด การเลี้ยงสัตว์ และพืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้นในสภาพพื้นที่ที่มีคูคลองธรรมชาติหรือแหล่งน้ำจากร่องน้ำใน สวนไม้ผลและพืชผัก เกษตรกรสามารถนำน้ำมาใช้ในระบบการผลิตในไร่นาได้ อนึ่ง ในฤดูแล้งน้ำในบริเวณสระน้ำ ร่องสวน และคูคลองธรรมชาต ิอาจจะแห้งหรือมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ และใช้บริโภคและอุโภคในครอบครัว เกษตรกร ควรมีการเติมน้ำจากแหล่งน้ำขนาดใหญ่เหมือง ฝายทดน้ำ ห้วย คลอง บึง ตามธรรมชาติ เป็นต้น

2. กิจกรรมด้านอาหาร ซึ่งเป็นกิจกรรมการที่มนุษย์ใช้บริโภคในครอบครัว ตลอดจนเป็นอาหารสัตว์เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโต สามารถนำมาเป็นอาหารของมนุษย์ได้ เช่น ข้าว พืชไร่ (ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ทานตะวัน งา ละหุ่ง) พืชผักสวนครัว (แตงกวา ถั่วฝักยาว พริกชี้ฟ้า) พืชสมุนไพร (กระเพรา โหระพา สะระแหน่) ไม้ผล ไม้ยืนต้น บางชนิด (มะพร้าว กล้วย มะละกอ ไผ่ตง) สัตว์น้ำ (กบ ปู ปลา กุ้ง หอย) การเลี้ยงสัตว์ปีก (เป็ด ไก่ นก) และสัตว์ใหญ่ (สุกร โค กระบือ) เป็นต้น

3. กิจกรรมที่ทำรายได้ (ด้านเศรษฐกิจ ) โดยพยายามเน้นด้านการเพิ่มรายได้เป็นหลัก และก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่อง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี รายได้รายวัน ได้แก่ กิจกรรมพืชผัก (ผักบุ้ง ผักกระเฉด ตะไคร้ ขิง ข่า กระเพรา เป็นต้น) กิจกรรมด้านสัตว์ สัตว์ปีกให้ผล ผลิต ไข่ (ไก่ เป็ด นกกระทา) และการเลี้ยงโคนม รายได้รายสัปดาห์ ได้แก่ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักบางชนิด เช่น ชะอม กระถิน และผักกินใบ รายได้รายเดือน หรือตามฤดูการผลิต 2-4 เดือน ได้แก่ การทำนา การทำพืชไร่ การปลูกพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ (การเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อผลิตเนื้อ การเลี้ยงสุกร แม่พันธ์ผลิตลูก การเลี้ยงโคนม และสุกรขุนและการเลี้ยงสัตว์น้ำ (ปลา กบ เป็นต้น) รายได้รายปี ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมไม้ผลไม้ยืนต้น พืชไร่ อายุยาว เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด อ้อย การเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น โคเนื้อ โคขุน สุกร เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ในระยาวสามารถสร้างความสมดุลทางธรรมชาต ิทำให้เกิดระบบนิเวศเกษตรชุมชนที่ดีขึ้น เนื่องจากระบบการผลิตที่ม ีไม้ผลไม้ยืนต้นตลอดจนมีพืชแซมและพืชคลุมดิน จะช่วยสร้างสภาพระบบนิเวศเกษตรด้านบรรยากาศ และป้องกัน การสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งในระบบการ ผลิตดังกล่าวจะมีความหลากหลายของพืชยืนต้นและพืชล้มลุก

4. กิจกรรมพื้นที่บริเวณบ้าน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ มีทั้งการปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผลไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และการเพาะเห็ดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบริเวณบ้าน จะช่วยประหยัดรายจ่าย และเหลือขายเป็นรายได้ เสริมสร้างการใช้ที่ดินและแรงงานครอบครัวให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น



ที่มา Bloggang.com : โจ-หลังสวน
ที่มา bloggang.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น