Subscribe:

Ads 468x60px

Featured Posts

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถ
ในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการ
เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความ
เพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี 

 เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลัก
การและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนว
ทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม
เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม 
 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือแบบพื้นฐาน
กับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้ 

 ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานเทียบ
ได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการ
ที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหา
ในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่ง
ได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่า
ใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว 

 อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชน
ราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียง
แบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์
หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ 

 กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะ
รวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วย
เหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ 
เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง 

 ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่ง
เสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ธนาคาร สถาบัน
วิจัย เป็นต้น 

 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยน
ความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอัน
เป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอ
เพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด 



แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จขึ้น ครองสิริราชสมบัติ เมื่อ พุทธศักราช 2489 เป็นต้นมา
พระองค์ได้เสด็จแปรพระราชฐาน และเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมพสกนิกร โดยเฉพาะประชาชนในชนบทและท้องถิ่น
ทุรกันดารทั่วราชอาณาจักรอย่างสม่ำเสมอ พระองค์ได้ทรงประสบกับความทุกข์ยากของพสกนิกรด้วยพระองค์เอง โดย
เฉพาะพสกนิกรที่เป็นเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ คนเหล่านี้ล้วนแต่ประสบกับปัญหาในการประกอบอาชีพ
เนื่องจากอาชีพการเกษตรนั้นต้องพึ่งพาอาศัยปัจจัยต่างๆ มากมาย  ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อันได้แก่
ดิน น้ำ ลมฟ้าอากาศ รวมทั้งศัตรูพืชและสัตว์ชนิดต่าง ๆ   สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากเมื่อก่อน
ดินเคยอุดมสมบูรณ์ปลูกพืชอะไรก็เจริญเติบโต  สามารถเก็บเกี่ยวผลิตผลได้  แต่ปัจจุบันดินมีสภาพเสื่อมโทรมขาดแร่
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช  โรคและแมลงศัตรูต่าง ๆ ก็ระบาดรุนแรงมากขึ้น  ปลูกพืชอะไรถ้าหากไม่
ใส่ปุ๋ย ไม่ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ก็จะไม่ได้เก็บเกี่ยวผลิตผล ไม่เพียงแต่โรคและแมลงศัตรู
พืชเท่านั้น ยังมีภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกมากมายที่ก่อให้เกิดปัญหาในการประกอบอาชีพของเกษตรกร  เช่นฝนแล้ง น้ำ
ท่วม พายุ ลูกเห็บ เป็นต้น นอกจากนี้ การประกอบอาชีพทางการเกษตรนั้น ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมอื่นๆเช่น สภาวะ
เศรษฐกิจและการตลาดเป็นสำคัญ  ถ้าหากปีใดเศรษฐกิจดี  ตลาดมีความต้องการสูง ราคาผลิตผลทางการเกษตรก็จะดี
ไปด้วย เกษตรกรที่ประกอบอาชีพนี้ ก็จะขายผลิตผลได้ ในราคาสูง สามารถมีรายได้ เพียงพอ ต่อการครองชีพ ภายใน
ครอบครัว แต่ถ้าหากปีใดเศรษฐกิจตกต่ำ รายได้ไม่คุ้มกับต้นทุนที่ลงไป ประสบกับภาวะขาดทุน บางรายถึงกับล้มละลาย
ไปก็มีไม่น้อย

 ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  พระองค์ทรงทราบและตระหนักถึงความทุกข์ยาก
ของพสกนิกรของพระองค์ จึงทรงพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพของเกษตรกรโดยเน้นที่เกษตรกรยาก
จนในเขตน้ำฝน ซึ่งมีอยู่กว่าร้อยละ 70 ของเกษตรกรทั้งประเทศ  เกษตรกรเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมีพื้น
ที่ทำการเกษตรประมาณ 5-15 ไร่ แนวทางในการแก้ปัญหาก็คือ การจัดการแหล่งน้ำให้พอเพียงต่อการปลูกพืชในช่วงที่
ไม่มีฝน  เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการปลูกพืช  หากมีน้ำเพียงพอ เกษตรกรก็สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี มีงาน
ทำและมีรายได้ตลอดทั้งปี  ไม่ต้องอพยพเคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่น  ดังกระแสพระราชดำรัสความว่า "หลักสำคัญต้องมี
น้ำบริโภค  น้ำใช้  น้ำเพื่อการเพาะปลูก  เพราะว่ามีชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้  ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้" นอกจากการ
จัดการในเรื่องแหล่งน้ำแล้ว  การแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพตามแนวพระราชดำรินี้ ิ ยังเน้นการจัดการระบบการปลูก
พืชที่เหมาะสม เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว ไว้บริโภคในครอบครัว และพื้นที่ปลูกพืชอื่น ๆ ไว้บริโภค ใช้สอย และจำหน่าย
แนวทางการประกอบอาชีพการเกษตรแบบนี้จะทำให้เกษตรกรมีงานทำ มีอาหารไว้บริโภค มีรายได้เพียงพอต่อการครอง
ชีพ  สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพ  อันจะเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งจะก่อให้เกิด
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ  นับว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน  เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติในอนาคต
แนวคิดในการแก้ปัญหาการประกอบอาชีพการเกษตร ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้ จึงเรียก
ว่า  "ทฤษฎีใหม่"


ประโยชน์และความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่
       
 "เกษตรทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหนึ่งซึ่ง เป็นความหวังที่จะทำให้เกษตรกรไทย มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
ขึ้น และจะทำให้ระบบเศรษฐกิจ ของประเทศชาติโดยรวม มีความเข้มแข็งและมั่นคงตลอดไป  เนื่องจากการ เกษตรทฤษฎี
ใหม่ เป็นการพัฒนาการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อเกษตรกรมีอาหารไว้บริโภค มีงาน
ทำ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และครอบครัวอยู่อย่างอบอุ่นและมีความสุขถ้าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีสภาพ
เช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้ ประเทศชาติ มั่นคงทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เกษตรทฤษฎีใหม่ จึงมี
ความสำคัญและจำเป็นต่อประเทศชาติยิ่ง  ความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่  สรุปได้ดังนี้

 เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดและแก้ปัญหาภัยแล้งได้
                                                                        
 เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศไทย คือ กว่าร้อยละ 70 อยู่นอกเขตชล
ประทาน ซึ่งเป็นเขตการเกษตรที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว หรือถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประเทศไทยมีระบบชลประทาน
ทั้งประเทศประมาณ  ร้อยละ 21 ของพื้นที่การเกษตรเท่านั้น     หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ก็คือ  การขุดสระน้ำเพื่อกัก
เก็บน้ำในช่วงที่มีฝนตกสำหรับเก็บไว้ใช้ในการเกษตรยามขาดแคลน  ซึ่งจะทำให้เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรในเขตน้ำ
ฝนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำไว้ใช้ในยามที่ขาดแคลน นับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ สามารถแก้ปัญหา
หรือลดปัญหาความแห้งแล้งที่เกษตรกรประสบอยู่โดยทั่วไปในปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง


เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้การใช้พื้นที่การเกษตรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 
 จากหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ที่มีการจัดสรรพื้นที่ปลูกพืชอย่างเหมาะสม  เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว และปลูก
พืชชนิดอื่นๆ  ได้แก่ พืชไร่  ไม้ผล  พืชผัก  สมุนไพร  และไม้ใช้สอย รวมทั้งมีการจัดแบ่งพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย และใน
บริเวณที่อยู่อาศัยนี้เอง  สามารถใช้เป็นที่ปลูกผักสวนครัว เพาะเห็ด และเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค การจัดสรรพื้นที่แบบนี้จะทำให้
พื้นที่ทุกส่วนได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่  สามารถใช้พื้นที่ได้ตลอดทั้งปี  ผิดกับเมื่อก่อนที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะปลูก
พืชชนิดเดียว  พื้นที่ก็ไม่ได้นำมาใช้เต็มที่  มีการใช้เฉพาะที่หรือบางฤดูกาลเท่านั้น


   เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีอาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอ 

  การแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ  อันได้แก่  ส่วนแรกประมาณร้อยละ 30 สำหรับขุดสระน้ำ  สามารถใช้เลี้ยงปลาไว้
บริโภค ในครัวเรือนได้     ส่วนที่ 2 ประมาณร้อยละ 30 ใช้สำหรับปลูกข้าว จะทำให้ เกษตรกรมีข้าว  ซึ่งเป็นอาหารหลักไว้
บริโภค ภายใน ครัวเรือน อย่างเพียงพอ ตลอดทั้งปี   ส่วนที่ 3 ประมาณร้อยละ 30 ใช้สำหรับปลูกพืชชนิดอื่นๆ  เช่น พืชไร่
ไม้ผล  พืชผัก  ผลิตผลจากพืชเหล่านี้ก็สามารถนำมาบริโภคได้เช่นกัน  นอกจากนี้ บริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัยก็สามารถใช้เป็น
ที่เลี้ยงสัตว์ เพาะเห็ด สำหรับใช้เป็นอาหารบริโภคภายในครัวเรือน จึงถือได้ว่าเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ สามารถทำให้เกษตรกรมี
อาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี



เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 

 เนื่องจากเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นระบบการเกษตรที่จัดให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเกษตร มีการจัดสรร พื้นที่ สำหรับ
ปลูกพืชหลายชนิดอย่างเหมาะสม และหมุนเวียนปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างคุ้มค่าและมีรายได้
หมุนเวียนตลอดทั้งปีโดยรวมแล้วจึงทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นต่างจากเมื่อก่อนที่เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกพืชชนิด
เดียวหรือมีเพียงครั้งเดียวในหนึ่งปี  จึงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ

    เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีงานทำตลอดทั้งปี 

 โดยปกติแล้วเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานนั้น จะประกอบอาชีพหรือปลูกพืชเพียงปีละครั้ง มีช่วงระยะเวลา
การทำงานในแต่ละปีประมาณ 3-4 เดือนเท่านั้น  เวลาที่เหลือก็เป็นการว่างงานตามฤดูกาล บางรายก็ต้องเดินทางไปทำงานที่
อื่น แต่เมื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่แล้ว ทำให้มีงานทำตลอดทั้งปี ไม่ต้องไปหางานทำที่อื่น นับว่าเกษตร
ทฤษฎีใหม่ช่วยแก้ปัญหาการว่างงานในท้องถิ่นที่เป็นการว่างงานตามฤดูกาลได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นการแก้ปัญหาการ
เคลื่อนย้ายแรงงานของประชากรในระดับชุมชนและระดับประเทศได้ เพราะถ้าหากเกษตรการมีงานทำมีรายได้ในท้องถิ่นของ
ตนเองแล้ว  ก็ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่น


เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ปัญหาสังคมลดลง 

 จากที่กล่าวมา นับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่สามารถทำให้เกษตรมีอาหารไว้บริโภค มีงานทำ มีรายได้เพียงพอต่อการ
ดำรงชีพ เกษตรกรก็ไม่ต้องไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมหรือบริการตามเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ เพราะการ
ที่เกษตรกรต้องอพยพไปอาศัยอยู่ตามเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่นั้นก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัด นอก
จากนี้ ยังเกิดปัญหาในด้านครอบครัวของเกษตรกรเอง เพราะเมื่อเกษตรกรออกไปทำงานที่อื่น ทำให้ครอบครัวขาดความอบ
อุ่น สภาพเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมามากมาย เช่น บุตรหลานไม่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากบิดามารดา ขาดการ
ศึกษา ติดยาเสพติด ซึ่งล้วนแต่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ แต่เมื่อเกษตรกรทำการเกษตรทฤษ
ฎีใหม่ จะทำให้เกษตรกรมีงานทำอยู่กับบ้าน มีเวลาอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะลดน้อยลง

  เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศได้ 

 ลักษณะของเกษตรทฤษฎีใหม่นั้นจะเน้นการใช้แรงงานภายในครอบครัว ถ้าเกษตรกรมีสมาชิกภายในครอบครัว
5-6 คน ก็จะสามารถมีแรงงานเพียงพอสำหรับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ได้ การดำเนินงานก็ไม่จำเป็น
ต้องพึ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์จากภายนอกหรือจากต่างประเทศมากนัก อีกประการหนึ่งแนวทางของเกษตรทฤษฎีใหม่มักจะ
เน้นการใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ในการปลูกพืช และการใช้สารสกัดจากธรรมชาติ
หรือสมุนไพร  ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช


เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมั่นคงยิ่งขึ้น 

 ดังคำที่กล่าวกันมาตั้งแต่อดีตว่า  "ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ" เกษตรทฤษฎีใหม่จะทำให้เกษตรกรซึ่งเป็น
กระดูกสันหลังของชาติมีความมั่นคง เนื่องจากมีงานทำ  มีอาหารบริโภค  มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ  จึงทำให้เกษตรกรมี
กำลังในการจับจ่ายใช้สอยตามอัตภาพ  ดังนั้นเมื่อเกษตรกร ซึ่งเป็นฐานของประเทศมีความมั่นคง ก็จะทำให้ประเทศชาติมั่นคง
ระบบเศรษฐกิจ ของประเทศส่วนรวมก็จะมั่นคงตามมาด้วย  และถ้าหากเกษตรกรไทยปฏิบัติ หรือทำเกษตรทฤษฎีใหม่และยึด
หลักการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นเวลานานแล้วประเทศชาติก็คงไม่ต้อง
ประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจเช่นในปัจจุบัน

 เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
 เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นทฤษฎีที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่าง
เป็นรูปธรรม  เมื่อนำทฤษฎีนี้ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง รวมทั้งยึดหลักการพัฒนาประเทศตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัด
ก็จะเป็นที่มั่นใจได้ว่าประชากรจะมีแต่ความสมบูรณ์พูนสุข ไม่มีปัญหาการว่างงานและขาดแคลนอาหารบริโภค ปัญหาต่าง ๆ ของ
สังคม ก็จะลดน้อยลง ประเทศชาติก็จะมั่นคงแข็งแรง ลดการพึ่งพาจากภายนอกหรือต่างประเทศ ดังนั้น  การพัฒนาการประกอบ
อาชีพการเกษตรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้  จะเป็นการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืนตลอดไป
 
ที่่มา student.nu.ac.th
ที่มา student.nu.ac.th/sammy/Econ.html

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่

เกษตรทฤษฎีใหม่
     การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตรที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งขุดสระกักเก็บน้ำ จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สอง ปลูกข้าว จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สาม ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น และส่วนที่สี่ เป็น พื้นที่ที่ใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่ จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่ง เช่นครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกจำนวน 4 คน พื้นที่มีแหล่งน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี แต่ดินม ีความอุดมสมบูรณ์ต่ำก็ควรปรับลดพื้นที่ขุดสระ และเพิ่มพื้นที่นาข้าวเพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี
พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง จำนวน 3.6 ไร่ (30%) ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 2 สระ สามารถกักเก็บน้ำ ได้รวม 10,455 ลูกบาศก์เมตร เพียงพอ ต่อการนำน้ำมาใช้ ในการทำการเกษตรได้ทั้งป  ีแต่การผันน้ำมาใช้นั้น ยังคงต้องใช้เครื่องจักรกลในการสูบน้ำมาใช้ ทำให้สูญเสียพลังงานเชื้อเพลิง
จำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ถ้าสามารถลดการใช้พลังงานลงได้หรือ หาพลังงาน เชื้อเพลิงอื่นทดแทน หรือมีการวางแผนการใช้น้ำ เช่น หากพื้นที่มีระดับที่ต่างกันมาก สามารถวางท่อนำน้ำออกมาใช้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำและน้ำมัน เป็นการจัดการทำให้
ต้นทุนการเกษตรลดลงได้ในระยะยาว

พื้นที่ส่วนที่สอง 3.6 ไร่ (30%) ใช้ปลูกข้าว ดำเนินการในปี 2547 เตรียมดิน หว่านกล้าและปักดำโดยใช้ข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 จำนวน 40 กิโลกรัม ทำการกำจัดวัชพืชในนาข้าว โดยการถอน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัมและปุ๋ยเคมีสูตร 40 – 0 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัม
พื้นที่ส่วนที่สาม 3.6 ไร่ (30%) ปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยแบ่งพื้นที่ปลูกดังนี้

1. พื้นที่จำนวน 2 ไร่ ปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ จำนวน 50 ต้น
2. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกกล้วยน้ำหว้า จำนวน 60 ต้น
3. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกพืชผัก จำนวน 20 แปลง
4. พื้นที่จำนวน 0.6 ไร่ ปลูกไม้ใช้สอย อาทิเช่น
   - ต้นสัก จำนวน 30 ต้น
   - ต้นยูคาลิปตัส จำนวน 80 ต้น
   - ต้นไผ่รวก จำนวน 10 ต้น
   - ต้นไผ่ตง จำนวน 5 ต้น
   - ต้นหวาย จำนวน 30 ต้น

พื้นที่ส่วนที่สี่ 1.2 ไร่ (10%) เป็นพื้นที่สร้างที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์
1. สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ จำนวน 1 หลังขนาด 3*4 เมตร เลี้ยงไก่แล้ว 3 รุ่น จำนวน 200 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว
2. สร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ดจำนวน 1 หลัง ขนาด 3*4 เมตร ใช้เลี้ยงเป็ด 3 รุ่น จำนวน 129 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว
3. สร้างโรงเรือนสุกร จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*19.5 เมตร ดำเนินการเลี้ยงสุกรจำนวน 20 ตัว
4. สร้างศาลาถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*10.5 เมตร ใช้เป็นพื้นที่แสดงและถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป

ที่มา เกษตรพอเพียง.คอม
ที่มา kasetporpeang.com

เกษตรผสมผสานกับการมีเงินออม

เกษตรผสมผสานกับการมีเงินออม

ในอดีต เกษตรกรไทยสามารถอยู่ได้อย่างพอเพียง อาหารการกินอุดมสมบรูณ์ ถึงกับมีคำกล่าวกันว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว แต่ปัจจุบัน พอลงพื้นที่ กลับพบแต่ ปัญหาหนี้สินและความยากจน จนหลายคนอดถามคำถามไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น กับภาคเกษตรของไทย

สาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งของปัญหา ก็คือ การปลูกพืชเชิงเดียว

ตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็น ข้าว มัน อ้อย ปอ ฝ้าย เกษตรกรมีวัฏจักรการทำงานที่คล้ายๆ กัน ที่แต่ละคนจะมาช่วยกันลงแขกตอนปลูก เมื่อเสร็จก็รอที่จะช่วยกันเก็บเกี่ยว และลุ้นว่าราคาปีนั้นจะดีหรือไม่
ถ้าราคาดี ก็จะมีชีวิตที่ดี บริโภคได้มาก แต่ว่าถ้าราคาไม่ดี ก็จะกลายเป็นหนี้เป็นสิน ต้องกู้ยืมทั้งจาก ธกส. หรือจากนายทุนหน้าเลือดในพื้นที่ ถ้าไม่ดีหลายปีต่อเนื่อง ที่ดินที่เอาไปจำนอง ก็จะหลุดจำนอง หมดที่ทำกิน มีความลำบากในชีวิต
ตรงนี้ การปลูกพืชผสมผสาน เช่น ตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวง โดยทำทั้งปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกไม้ผล ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ทำอาชีพหัตถกรรมควบคู่กันไป จึงเป็นคำตอบ เป็นทางออกที่น่าสนใจ
จากที่เคยไปพูดคุยกับเกษตรกรหลายคน พบว่าเมื่อได้เริ่มทำการเกษตรแบบผสมผสานแล้ว หนี้สินต่างๆ ที่เคยมี ก็กลับสามารถทยอยชำระคืนไปได้ ในที่สุดชีวิตก็กลับมีความอุมสมบรูณ์เป็นสุขอีกครั้งหนึ่ง


ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
  • การปลูกพืชผสมผสาน ช่วยให้ชีวิตของเกษตรกรไม่ต้องขึ้นกับราคาสินค้าตัวใดตัวหนึ่ง ถ้า ราคาข้าวตกลงในปีนั้น ก็ยังมีสินค้าตัวอื่นที่คอยช่วยจุนเจือช่วยชีวิตได้ ความจริง มีคนเคยบอกว่า ถ้าทำเกษตรผสมผสานแล้ว มีทุกอย่างในสวนของตนแล้ว อยากกินอะไรก็สามารถไปหามากินได้ ไก่ ปลา กล้วย มะม่วง ผลไม้ต่างๆ ต่างมีอยู่พร้อมบริบูรณ์
  • มีรายได้สม่ำเสมอทั้งปี ไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้มีการเก็บเกี่ยวปีละครั้ง เหมือนแต่ก่อน การเก็บออมก็เกิดขึ้นได้
  • เปลี่ยนวิถีชีวิต เนื่องจากแต่ก่อนพอช่วยกันลงแขกเสร็จ ชีวิตก็จะว่าง หลายคนไม่รู้จะทำอะไร ก็เล่นหวย เล่นการพนัน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้จ่าย รายจ่ายก็พอกพูน แต่พอหันมาปลูกพืชแบบผสมผสานแทน ก็กลับมีงานทำทั้งวัน มีอยู่คนหนึ่งที่ไปคุยด้วยบอกว่า ตื่นเช้ามาก็ไปเก็บผักชะอมส่งตลาด สายมาก็ไปดูนา เสร็จก็ไปดูผักและสวนผลไม้ หลังจากนั้นก็ไปดูแลเล้าไก่ ปลา พอเสร็จก็ไปทำงานฝีมือที่โรงเรือน เรียกว่าวุ่นทั้งวัน จนไม่มีเวลาเข้าไปกรายใกล้อบายมุข ที่ทำให้เกิดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเหล่านั้น ความพอเพียงของรายได้ก็เกิดขึ้น
  • บางคนเมื่อเริ่มมีรายได้สม่ำเสมอมากขึ้น ก็สามารถที่จะลงทุนระยะยาวได้ โดยจากการเริ่มเลี้ยงโคนม วัว กระบือที่นอกจากจะได้ของเสียมาทำปุ๋ยแล้ว ยังเป็นการลงทุนที่จะสามารถให้ผลในช่วงหลังเมื่อนำไปขาย
  • บางคนแบ่งที่ทำมาหากินส่วนหนึ่ง ไปทำป่า ปลูกไม้เนื้อแข็งเก็บออมเอาไว้เป็นธนาคารต้นไม้ เอาไว้เพื่อขายในอนาคต เท่าที่ได้ยินมา พอมีลูก ก็ให้เริ่มปลูกต้นไม้ยืนต้นเหล่านี้ พอลูกโต ก็ตัดไปขาย เพื่อส่งลูกเรียน ระหว่างทางต้นไม้ก็ช่วยให้พื้นดินชุ่มชื้น และเป็นหนทางที่จะทำเกษตรไม่เพียงแต่แนวราบ แต่ทำในแนวดิ่งด้วย
ที่มา สวนเกษตรบุรีรมย์ ปลูกเอง กินเอง
ที่มา burirom.ketakawee.com

เกษตรผสมผสาน


ระบบ เกษตรที่มีการปลูกพืชและมีการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิด เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และเกิดการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ การเกื้อกูลกันระหว่างพืชและสัตว์ เศษซากและผลพลอยได้จากการปลูกพืชจะเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ ในทางตรงกันข้าม ผลที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อพืชด้วยเช่นกัน
หลักการของ "เกษตรผสมผสาน"
หลักการพื้นฐานของระบบเกษตรกรรมแบบผสมผสานมีอยู่อย่างน้อย 2 ประการสำคัญๆ คือ
1) ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมเป็นต้นไป โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมนั้น ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ และสามารถผสมผสานระหว่างการปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันได้
2) การเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมเกษตรต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในระบบเกษตรแบบผสมผสานนั้น เกิดขึ้นทั้งจากวงจรการใช้แร่ธาตุอาหารรวมทั้งอากาศ และพลังงาน เช่น การหมุนเวียนใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ให้เป็นประโยชน์กับพืช และให้เศษพืชเป็นอาหารสัตว์ โดยที่กระบวนการใช้ประโยชน์จะเป็นไปทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น ผ่านการหมักของจุลินทรีย์เสียก่อน



ทั้งนี้ ลักษณะการผสมผสานในระบบเกษตร สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
การปลูกพืชแบบผสมผสาน
เป็น การอาศัยหลักการความสัมพันธ์ระหว่างพืช สิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศตามธรรมชาติมาจัดการและปรับใช้ในระบบการเกษตร ตัวอย่างเช่น การปลูกตาลโตนดในนาข้าว การปลูกพริกไทยร่วมกับมะพร้าว การปลูกพืชไร่ผสมกับถั่ว การปลูกทุเรียนร่วมกับสะตอ การปลูกระกำในสวนยาง เป็นต้น โดยที่ยิ่งมีความหลากหลายของพืชปลูกมากเท่าใด ก็จะสามารถเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบมากขึ้นเท่านั้น
การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์
หลัก การผสมผสานเป็นไปเช่นเดียวกับการผสมผสานระหว่างพืช เนื่องจากสัตว์ชนิดหนึ่งจะมีความสัมพันธ์กับสัตว์อีกชนิดหนึ่งและเกี่ยวข้อง กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น พืช และจุลินทรีย์ ตัวอย่างของระบบการผสมผสานการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงหมูควบคู่กับปลา การเลี้ยงเป็ดหรือไก่ร่วมกับปลา การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน เป็นต้น



อย่าง ไรก็ตาม การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถสร้างระบบที่สมบูรณ์ ได้เหมือนกับการผสมผสานการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
การปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์
เป็น รูปแบบการเกษตรที่สอดคล้องกับสมดุลของแร่ธาตุพลังงาน และมีการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมการผลิตต่างๆ มากขึ้น ใกล้เคียงกับระบบนิเวศตามธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของระบบการปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงเป็ดในนาข้าว การเลี้ยงหมูและปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชไร่ เป็นต้น


ที่มา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต4
ที่มา 2.oae.go.th/zone/zone4/board/index.php?topic=56.0

แนวเกษตรพอเพียง

แนวเกษตรพอเพียงหรือตามทฤษฎีใหม่มีดังนี้




เกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory Agriculture)
การทำการเกษตรในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชุมชนนั้น การเกษตรทฤษฎีใหม่ (new theory) เป็นการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวงที่มีพระประสงค์ให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคง ในความหมายของความมั่นคง หมายถึง ความยั่งยืน (sustainable) ของเกษตรกรในอาชีพเกษตร คือการที่มีพออยู่ พอกิน ที่เหลือก็เหลือเก็บก็ขาย จำหน่าย ซึ่งมีหลักการจัดการทฤษฎีอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้

ทฤษฎีใหม่ : ขั้นที่หนึ่ง

ฐานการผลิตความพอเพียง เน้นถึงการผลิตที่พึ่งพาตนเอง สร้างความเข็มแข็งของตนเอง ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในพื้นที่ของตนเอง กล่าวคือ "พออยู่พอกิน" ไม่อดอยาก ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นเรื่องของการจัดการพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน สัดส่วนการใช้พื้นที่ทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้ตัวเลขง่ายต่อการจดจำในพื้นที่ 15 ไร่ ดังนี้ 30:30:30:10 (พื้นที่ทำนา สระน้ำ พื้นที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน และที่อยู่อาศัย)
1) สระน้ำ 3 ไร่ ลึก 4 เมตร (ประมาณ 30% ของพื้นที่)
2) นาข้าว 5 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่)
3) พื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 5 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่)
4) ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ 2 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่)

พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง คือ ข้าว คือ พื้นที่ทำนาในการปลูกข้าวเพื่อการบริโภค ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจระดับประเทศและระดับครอบครัว ในระดับประเทศถือได้ว่าสามารถนำเงินตราสู่ประเทศอย่างมากมายในแต่ละปี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ข้าวเป็นวัฒนธรรม และวิธีชีวิตของคนไทยในแง่ของงานบุญงานประเพณีต่าง ๆ และข้าวเป็นพืชที่ปลูกไว้สำหรับคนไทยทั้งประเทศเพื่อการบริโภค ในระดับครอบครัว ปลูกไว้บริโภคและหากผลผลิตเหลือจึงจำหน่ายเป็นรายได้ ข้าวยังแสดงถึงฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรและทรัพย์สินในแต่ละครอบครัว ข้าวเป็นสินค้าที่เกษตรกรสามารถเก็บไว้ได้นาน ขึ้นอยู่กับความต้องการว่าต้องการบริโภคเมื่อไร ต้องการเปลี่ยนจากผลผลิต (ข้าวเปลือก) เป็นเงินตราไว้สำหรับใช้จ่ายในครัวเรือนเมื่อไรก็ได้ ซึ่งจะต่างจากสิค้าเกษตรอื่นๆ โดยทั่วไป คนไทยบริโภคข้าวเฉลี่ยคนละ 200 กิโลกรัม ข้าวเปลือกต่อ ปี เกษตรกรมีครอบครัวละ 3-4 คน ดังนั้นควรปลูกข้าว 5 ไร่ ผลผลิตประมาณ 30 ถัง ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี

พื้นที่ส่วนที่สอง คือ สระน้ำ สระน้ำในไร่นา มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการเกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้นหากเกษตรกรมีสระน้ำก็เปรียบเสมือนมีตุ่มเก็บกักน้ำในฤดูฝน ช่วยป้องกันน้ำไหลหลากท่วมไร่นาของเกษตรกร ตลอดจนช่วยมิให้น้ำไหลหลากลงสู่แม่น้ำลำคลอง สามารถนำน้ำจากสระน้ำมาใช้ในฤดูฝนกรณีเกิดขาดแคลนน้ำหรือฝนทิ้งช่วง สำหรับฤดูแล้ง หากมีน้ำในสระเหลือสามารถนำมาใช้ในการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การที่เกษตรกรมีสระน้ำในไร่นา ยังแสดงถึงการมีหลักประกันความเสี่ยงในการผลิตทางการเกษตร ถ้าเกิดการขาดแคลนน้ำขึ้นในการเพาะปลูก นอกจากนี้ สระน้ำยังเป็นทรัพยากรในการสนับสนุนการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในไร่นา ให้ความชุ่มชื้น และสร้างระบบนิเวศเกษตรที่เหมาะสมในบริเวณพื้นที่ขอบสระน้ำ การคำนวณว่าต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการเพราะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ และบนสระน้ำอาจสร้างเล้าไก่ เล้าหมูไว้ด้วย เพราะฉะนั้นพื้นที่ 10 ไร่ ต้องใช้น้ำอย่างน้อย 10,000 ลูกบาศก์เมตร

พื้นที่ส่วนที่สาม คือ ปลูกพืชแบบผสมผสาน ไว้เพราะปลูกพืชแบผสมผสานทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นแหล่งอาหาร ไม้ใช้สอยและเพิ่มรายได้ การปลูกพืชหลาย ๆ ชนิดจะช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจน ช่วยกระจายความเสี่ยงจากความแปรปรวน ของระบบตลาดและภัยทางธรรมชาติ การปลูกพืชผสมผสานยังสามารถช่วยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอกไร่นา และตัดวงจรศัตรูพืชบางชนิดได้อีกด้วย

ตัวอย่างของพืชที่ควรปลูก ได้แก่
พืชสวน (ไม้ผล) : เช่น มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้มมะม่วง กล้วย น้อยหน่า มะละกอ และกระท้อน เป็นต้น
พืชสวน (ผักไม้ยืนต้น) : เช่น แคบ้าน มะรุม สะเดา เหลียง เนียง ชะอม ผักหวาน ขจร ขี้เหล็ก และกระถิน เป็นต้น
พืชสวน (พืชผัก) : เช่น พริก กระเพรา โหระพา ตะไคร้ ขิง ข่า แมงลักสะระแหน่ มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว ถั่วพู และ มะเขือ เป็นต้น
พืชสวน (ไม้ดอก) : เช่น มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รักและซ่อนกลิ่น เป็นต้น
เห็ด : เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น
สมุนไพร และเครื่องเทศ : เช่น หมาก พลู พริกไทย บุก บัวบกมะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก กระเพรา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น
ไม้ยืนต้น (ใช้สอยและเชื้อเพลิง) : เช่น ไผ่ มะพร้าว ตาล มะขามเทศ สะแกทองหลาง จามจุรี กระถิน ยูคาลิปตัส สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัง และยางนา เป็นต้น
พืชไร่ : เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง เป็นต้น พืชไร่บางชนิดอาจ เก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ จำหน่ายได้
พืชบำรุงดิน และพืชคลุมดิน : เช่น ทองหลาง ขี้เหล็ก กระถิน ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม โสน ถั่วฮามาต้า เป็นพืชที่ควรปลูกแซม ไม้ผลไม้ยืนต้นขณะที่ยังเล็กอยู่ ปลูกหมุนเวียนกับข้าว หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนา พืชเหล่านี้บางชนิดใช้กินใบและดอกได้ด้วย

พื้นที่ส่วนที่สี่ คือ ที่อยู่อาศัย เป็นที่อยู่อาศัยหรือบ้านไว้ดูแลเรือกสวนไร่นา และบริเวณบ้าน ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น มีไม้ผลหลังบ้านไว้บริโภคปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร นำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำปุ๋ยหมัก เพาะเห็ดฟาง การเลี้ยงสัตว์เพื่อสร้างคุณค่าอาหารและโภชนาการ ตลอดจนเสริมรายได้ นอกจากนี้มูลสัตว์ยังเป็นปุ๋ยคอก สำหรับพืชในลักษณะเกษตรผสมผสาน มีการหมุนเวียนทรัพยากรในไร่นาให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้ การจัดการพื้นที่ส่วนที่สี่ให้มีที่อยู่อาศัยนั้นยังหมายถึง การสร้างจิตสำนึก และนิสัยให้มีความผูกพันธ์กับอาชีพการเกษตรของตนเอง เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่มีจิตฟุ้งเฟ้อหลงไหลในวัตถุนิยม ดังเช่นสังคมเมือง สามารถใช้ประโยชน์จากบริเวณบ้านและที่อยู่อาศัย มีเวลามากพอในการทำการเกษตร ดูแลเรือกสวนไร่นาของตนเอง มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตพื้นฐานอย่างเพียงพอ ได้อาหารจากพืช สัตว์ และประมง มียารักษาโรคจากพืชธรรมชาติและพืชสมุนไพร มีผลไม้ไว้บริโภค และมีไม้ใช้สอยในครอบครัว

ทฤษฎีใหม่ : ขั้นที่สอง

รวมพลังเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยสร้างความพอเพียงในขั้นที่หนึ่ง ทำให้เกิดความเข้มแข็งในแต่ละคนแต่ละครอบครัว จนเกิดกลุ่มกิจกรรมที่เข้มแข็งและเกิดพลัง ในขั้นที่สอง การรวมกลุ่ม จึงร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มิใช่มาขอความช่วยเหลือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว การรวมกลุ่มให้เกิดพลังในการดำรงชีพ และดำเนินกิจกรรมการเกษตร โดยการร่วมแรงร่วมมือในการผลิต จัดระบบการผลิต การตลาด ร่วมคิดร่วมวางแผน และระดมทรัพยากรในการผลิตร่วมกัน สร้างสวัสดิการความเป็นอยู่ ด้านการศึกษาและอนามัย ร่วมกันในชุมชนและกลุ่มเป็นอันดับแรก ทำให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน กลุ่มมีความเข้มแข็งช่วยเหลือตนเองได้ เกิดความสามัคคีปรองดองกัน สามารถร่วมดำเนินธุรกิจด้วยกันโดยการร่วมกันซื้อขาย ซึ่งจะช่วยในการลดค่าขนส่ง ทำให้เกิดการเรียนรู้แหล่งผลิต ซื้อขายปัจจัยการผลิตและผลผลิต นอกจากนี้แล้ว การรวมกลุ่มและแปรรูปแบบสหกรณ์ ทำให้มีผลผลิตในปริมาณที่มากพอสามารถเพิ่มอำนาจในการรวมกลุ่ม และรูปแบบสหกรณ์ทำให้มีผลผลิตในปริมาณที่มากพอ สามารถเพิ่มอำนาจในการต่อรองราคาในการจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร

ทฤษฎีใหม่ : ขั้นที่สาม

ร่วมค้าขายสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน

ในขั้นตอนที่สอง เมื่อองค์กรหรือกลุ่มหรือสหกรณ์ เกิดความเข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือกันเองได้แล้ว จึงร่วมกับคนภายนอกค้าขาย ร่วมประสานประโยชน์ร่วมกัน โดยร่วมมือกับแหล่งเงินทุน (ธนาคาร) และกับแหล่งพลังงาน ในขั้นตอนที่สาม โดยยึดหลักฐานการผลิตเดิม ระบบและรูปแบบการรวมกลุ่มการรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และประสานผลประโยชน์ร่วมกัน การจัดตั้งและบริหารโรงสี ร้านค้าสหกรณ์ ในลักษณะบริษัทร่วมทุน ช่วยกันลงทุนในรูปแบบทรัพยากรการผลิต ทรัพยากรมนุษย์ (ตัวบุคคลช่วยกันทำงาน) เงินทุน และ อุปกรณ์การผลิตการก่อสร้าง เป็นต้น ในการร่วมมือร่วมใจกับบุคคลภายนอก ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้เกิดหน่วยเศรษฐกิจชุมชน และเศรษฐกิจท้องถิ่น จะตั้งอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกัน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามความถนัด เช่น หน่วยการผลิต หน่วยขนส่ง หน่วยการจัดการ หน่วยติดต่อหาตลาด หน่วยการจำหน่าย หน่วยการลงทุน เป็นต้น แต่ทุกหน่วยจะต้องทำงานเหมือนบริษัทเดียวกัน ทำงานเป็นทีมประสานงานร่วมกัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการบริหารการจัดการ การดำเนินธุรกิจ เกิดขบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้ทราบความต้องการทั้งชนิด ปริมาณ คุณภาพ และราคาสินค้า นิสัยการบริโภคและอุปโภคของลูกค้า สิ่งสำคัญจะต้องมีกลไก กฎระเบียบข้อบังคับร่วมกัน การจัดสรรปันส่วนผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นต้องยุติธรรมและมีคุณธรรม

จากแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งพระราชทานไว้แก่พสกนิกรชาวไทย เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่ทำการเกษตรออกเป็น 4 ส่วน คือ สระน้ำ พื้นที่ทำนา พื้นที่ทำไร่ ทำสวนและ พื้นที่ที่อยู่อาศัย ในอัตราส่วน 30:30:30:10 และสามารถนำไปประยุกต์ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เศรษฐกิจ และสังคมเกษตรกร โดยพิจารณาถึงความหลากหลายของกิจกรรมการเกษตร มีระบบ และสัดส่วนที่เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ ดังน
ี้
1. กิจกรรมด้านแหล่งน้ำ น้ำมีความสำคัญ ในระบบการผลิตของเกษตรกร เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ ่ยังคงอาศัยน้ำฝน และบางพื้นที่ถึงแม้ว่าเป็นที่ราบและที่ลุ่ม สามารถเก็บกักน้ำได้เพียงไม่กี่เดือน ในฤดูแล้งน้ำจึงมี ความสำคัญยิ่งยวดต่อระบบการผลิตการเกษตร ในทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ดังนั้น สระน้ำเพื่อการเกษตรตามทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงเป็นแนวพระราชดำริที่เหมาะสม ที่สุดในสังคมเกษตรกรไทย อย่างไรก็ตาม สระน้ำในที่นี้ ยังหมายถึงแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคในครอบครัวเกษตรกร นอกจากนี้แหล่งน้ำยังสามารถเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เพื่อการบริโภคและจำหน่าย ตลอดจนนำน้ำจากแหล่งดังกล่าว มาใช้ในการเพาะปลูกพืชผลในเรือกสวนไร่นาและกิจกรรมการผลิตอื่น ๆ เช่นการเพาะเห็ด การเลี้ยงสัตว์ และพืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้นในสภาพพื้นที่ที่มีคูคลองธรรมชาติหรือแหล่งน้ำจากร่องน้ำใน สวนไม้ผลและพืชผัก เกษตรกรสามารถนำน้ำมาใช้ในระบบการผลิตในไร่นาได้ อนึ่ง ในฤดูแล้งน้ำในบริเวณสระน้ำ ร่องสวน และคูคลองธรรมชาต ิอาจจะแห้งหรือมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ และใช้บริโภคและอุโภคในครอบครัว เกษตรกร ควรมีการเติมน้ำจากแหล่งน้ำขนาดใหญ่เหมือง ฝายทดน้ำ ห้วย คลอง บึง ตามธรรมชาติ เป็นต้น

2. กิจกรรมด้านอาหาร ซึ่งเป็นกิจกรรมการที่มนุษย์ใช้บริโภคในครอบครัว ตลอดจนเป็นอาหารสัตว์เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโต สามารถนำมาเป็นอาหารของมนุษย์ได้ เช่น ข้าว พืชไร่ (ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ทานตะวัน งา ละหุ่ง) พืชผักสวนครัว (แตงกวา ถั่วฝักยาว พริกชี้ฟ้า) พืชสมุนไพร (กระเพรา โหระพา สะระแหน่) ไม้ผล ไม้ยืนต้น บางชนิด (มะพร้าว กล้วย มะละกอ ไผ่ตง) สัตว์น้ำ (กบ ปู ปลา กุ้ง หอย) การเลี้ยงสัตว์ปีก (เป็ด ไก่ นก) และสัตว์ใหญ่ (สุกร โค กระบือ) เป็นต้น

3. กิจกรรมที่ทำรายได้ (ด้านเศรษฐกิจ ) โดยพยายามเน้นด้านการเพิ่มรายได้เป็นหลัก และก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่อง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี รายได้รายวัน ได้แก่ กิจกรรมพืชผัก (ผักบุ้ง ผักกระเฉด ตะไคร้ ขิง ข่า กระเพรา เป็นต้น) กิจกรรมด้านสัตว์ สัตว์ปีกให้ผล ผลิต ไข่ (ไก่ เป็ด นกกระทา) และการเลี้ยงโคนม รายได้รายสัปดาห์ ได้แก่ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักบางชนิด เช่น ชะอม กระถิน และผักกินใบ รายได้รายเดือน หรือตามฤดูการผลิต 2-4 เดือน ได้แก่ การทำนา การทำพืชไร่ การปลูกพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ (การเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อผลิตเนื้อ การเลี้ยงสุกร แม่พันธ์ผลิตลูก การเลี้ยงโคนม และสุกรขุนและการเลี้ยงสัตว์น้ำ (ปลา กบ เป็นต้น) รายได้รายปี ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมไม้ผลไม้ยืนต้น พืชไร่ อายุยาว เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด อ้อย การเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น โคเนื้อ โคขุน สุกร เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ในระยาวสามารถสร้างความสมดุลทางธรรมชาต ิทำให้เกิดระบบนิเวศเกษตรชุมชนที่ดีขึ้น เนื่องจากระบบการผลิตที่ม ีไม้ผลไม้ยืนต้นตลอดจนมีพืชแซมและพืชคลุมดิน จะช่วยสร้างสภาพระบบนิเวศเกษตรด้านบรรยากาศ และป้องกัน การสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งในระบบการ ผลิตดังกล่าวจะมีความหลากหลายของพืชยืนต้นและพืชล้มลุก

4. กิจกรรมพื้นที่บริเวณบ้าน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ มีทั้งการปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผลไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และการเพาะเห็ดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบริเวณบ้าน จะช่วยประหยัดรายจ่าย และเหลือขายเป็นรายได้ เสริมสร้างการใช้ที่ดินและแรงงานครอบครัวให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น



ที่มา Bloggang.com : โจ-หลังสวน
ที่มา bloggang.com